หลังจากบทความแรกเกี่ยวกับการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้โพสต์ไปแล้ว บทความที่สองเราจะพูดถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหากมีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้จริงในอนาคต ตั้งแต่ที่อะตาโต้เปิดตัวมาในปี 2017 เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นหลากหลายสถาบันในประเทศไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตลาดและความต้องการสินทรัพย์ดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น
ความต้องการในสินทรัพย์ดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แม้ว่าจะมีเพียงไม่กี่สถาบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้การยอมรับสกุลเงินดิจิทัล แต่ประเทศไทยมีศูนย์ซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมากกว่า 5 แห่งที่เปิดให้บริการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล จากรายงานของ Cointelegraph, ปริมาณการซื้อขายคริปโตในประเทศไทยเติบโตขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาจาก 630 ล้านดอลลาห์ในเดือนธันวาคม 2563 เป็น 2.17 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา
จากรายงานของ Messari, ภาพรวมของตลาดคริปโตในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่เพียงแต่นักลงทุนไทยเท่านั้นที่มีความซับซ้อนและร่ำรวยขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ตลาดยังมีการปรับตัวมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย จำนวนศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีอยู่และดำเนินการในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นการเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดคริปโต
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการควบคุมระบบนิเวศของบล็อกเชน (Blockchain Ecosystem) ยิ่งมีผู้ให้การยอมรับและนำไปใช้จริงมากเท่าไหร่ กฎระเบียบต่างๆ ก็จะมีการปรับตัวได้เร็วและพัฒนายิ่งขึ้น ในปี 2561 รัฐบาลเคยมีการสั่งห้ามธนาคารไม่ให้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อ “คุ้มครองผู้บริโภคและกลุ่มนักลงทุนสถาบัน” แต่ปัจจุบันรัฐบาลได้เปลี่ยนแนวทางโดยการออกกฎระเบียบออกมาเพื่อสงเสริมการลงทุนและกลุ่มนวัตกรรม ซึ่งเป็นการปรับปรุงเพื่อให้เข้ากับความต้องการของตลาด โดยเราสามารถเห็นได้จากข่าวประชาสัมพันธ์ที่ออกมาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมาก โดยธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาให้ข่าวว่า เหรียญ Stable Coin ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมชำระเงินอาจถูกจัดประเภทเป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ในส่วนของเหรียญ Stablecoin อื่นๆ รวมถึง Stablecoins ที่ค้ำด้วยสกุลเงินต่างประเทศ, Stablecoins ที่ค้ำด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล และ Stablecoins ที่ค้ำด้วย algorithmic ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะก่อนที่จะพิจารณาหาแนวทางกำกับดูแลต่อไป
นอกจากนี้ ธปท. อยู่ระหว่างการพัฒนา ทดลองใช้สกุลเงินดิจิทัลเพื่อรายย่อย จุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนทั่วไป ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการในภาคธุรกิจและเพิ่มการเข้าถึงการบริการทางการเงิน
ธนาคารและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเริ่มสำรวจการให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลและยังให้ความสนใจในสินทรัพย์ดิจิทัลเห็นได้จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระดับสถาบัน ธนาคารแนวหน้าของประเทศมีการให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ ยกตัวอย่างกรณีธนาคารกสิกรไทย (K-Bank) ซึ่งเป็นผู้ให้กู้รายใหญ่อันดับสองของประเทศ มีการจัดการสินทรัพย์รวมประมาณ 40% ของธุรกรรมดิจิทัลในประเทศไทยตามรายงายของ Bangkok Post
ยิ่งไปกว่านี้ หน่วยงานด้านพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของกสิกรภายใต้ชื่อ กสิกรบิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กำลังเปิดรับนักพัฒนาเทคโนโลยีเนื่องจากกำลังขยายสาขาไปทั่วประเทศจีนและเวียดนามในช่วงหลายปีข้างหน้า เป้าหมายหลักของการเพิ่มกำลังคนคือการพัฒนาระบบนิเวศน์ของบล๊อกเชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DeFi ซึ่งมีศักยภาพในการช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมกู้-ยืมเงินได้โดยไม่ต้องผ่านนายหน้า
เป็นที่น่าจับตามองเมื่อโครงการนี้ประสบความสำเร็จในเฟสแรกในช่วงปี 2561-2563 โดยความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผ่านบริการการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อผสานการใช้เทคโนโยลีบัญชีแยกประเภท (DLT), การเสนอขายเหรียญ (ICO), การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลและกระเป๋าเงินดิจิทัล ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คุณภากร ปีตธวัชชัย กล่าวว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการเชิงกลยุทธ์ของตลาดหลักทรัพย์ ที่ริเริ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยตั้งเป้าที่จะเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับตลาดทุน ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถใช้งานได้จริงอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม
ในทางกลับกัน อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าจับตามองคือโครงการด้านดิจิทัลของธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ ภายใต้ชื่อ SCB10X ที่ได้เข้าร่วมลงทุน Series C มูลค่า 80ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในโครงเพื่อพัฒนาระบบเก็บรักษาทรัพย์สินคริปโตสำหรับสถาบันการเงินและการให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล สอดคล้องกับธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อธุรกรรมทางการเงินและพร้อมที่จะนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เพื่อปรับปรุงบริการทางการเงินตามที่ประกาศในข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุดเช่นกัน
“ธนาคารแห่งประเทศไทย จะติดตามการพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างใกล้ชิด โดยคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่รอบด้านในการปรับใช้นโยบายเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน”
เหตุใดสถาบันต่างๆ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในคริปโต
นอกเหนือจากการยอมรับการใช้เหรียญคริปโตที่เพิ่มขึ้น อีกปัจจัยที่สำคัญคือเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบที่สอดคล้องกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังสร้างรากฐานของระบบรักษาความปลอดภัยของระบบนิเวศน์ของเหรียญดังที่เราได้เห็นใน Sand Box ที่เสนอโดยหน่วยงานทางการเงินของประเทศสิงคโปร์ (MAS)
ยิ่งธนาคารและศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนทรัพย์สินดิจิทัลเติบโตมากขึ้นเท่าไร การเก็บรักษาทสินทรัพย์ดิจิทัลยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้น
เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่กล่าวถึงมาข้างต้น และข้อเท็จจริงที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดการซื้อขายคริปโตที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด โดยมี ก.ล.ต. ทำหน้าที่คุ้มครองนักลงทุนรายย่อยจากความเสี่ยงในการลงทุนคริปโต การมีทางออกในการเก็บรักษาทรัพย์สินดิจิทัลให้ปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับประเทศ นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังมีเป้าหมายในการปรับโครงสร้างตลาดโดยกำหนดขอบเขตการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลที่ยังคงเอื้อต่อการสนับสนุนนวัตกรรม ก.ล.ต. จึงเลือกที่จะไม่ควบคุมการพัฒนาทางเทคโนโลยี แต่จะดูแลการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมแทน ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการดูแลสินทรัพย์รายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นกำลังล๊อบบี้ฝ่ายนิติบัญญัติเพื่ออนุญาติให้มีการเสนอบริการและผลิตภัณฑ์สกุลเงินดิจิทัล เช่นโซลูชั่นการดูแลและกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน
ตามที่ได้กล่าวไปในโพสต์แรกของเราว่าการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลเป็นก้าวสำคัญสำหรับทุกสถาบัน ในขณะที่ตลาดคริปโตมีการพัฒนามานานกว่าทศวรรษและตอนนี้มีสินทรัพย์มากมายที่เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนระดับมืออาชีพ ความซับซ้อนของตลาดที่มากขึ้นมาพร้อมกับกฎระเบียบที่ยุ่งยากขึ้น อย่างไรก็ตาม นี่เป็นโอกาสให้ผู้บริการด้านกำกับดูแลเข้ามามีบทบาท โดยให้บริการเครือข่ายการชำระเงินสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล ผ่านระบบอย่าง DeFi, Proof-of-stake (POS), mining ซึ่งจะเป็นการสร้างมูลค่าทางการตลาดให้กับธุรกิจบริการทางการเงินของประเทศไทย รวมถึงปรับปรุงภาพรวมทางการเงินของประเทศสำหรับผู้ที่อยู่ในหรือนอกระบบธนาคารให้สามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมได้ง่ายขึ้น