Learn » Web3 Security » การดูแลรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลคืออะไร จำเป็นอย่างไร โดยใครและเพื่อใคร

การดูแลรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลคืออะไร จำเป็นอย่างไร โดยใครและเพื่อใคร

บทความนี้เป็นบทแรกของเรื่องการดูแลและผลกระทบในการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล

ในอนาคต

ตลาดคริปโตในขณะนี้เติบโตขึ้นมีมูลค่าถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เนื่องจากการที่สถาบันบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Tesla, Square และ Microstrategy ให้การยอมรับและมีการรายงานต่อสาธารณะว่าบริษัทมีการโอนเปลี่ยนเงินสดสำรองส่วนหนึ่งไปเป็น Bitcoin   การที่มีผู้เล่นระดับสถาบันเข้าตลาดมากขึ้น คำถามเกี่ยวกับความปลอดภัย การปฎิบัติตามกฎระเบียบและการดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล จึงถูกตั้งขึ้นถามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ด้วยการจัดการดูแลสกุลเงินดิจิทัลคือการจัดเก็บข้อมูลและติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยในการเก็บสินทรัพย์ในรูปแบบโทเค็นจำนวนมาก โดยระบบการจัดเก็บจำเป็นต้องมีความเป็นอิสระ การจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลนี้ ถือเป็นนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดของการมีอยู่ของสกุลเงินดิจิทัล โดยสถาบันต่างๆ สามารถเก็บรักษาทรัพย์สินเหล่านี้ได้อย่างสะดวกและปลอดภัยและยังสามารถจัดการสินทรัพย์เหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพอีกด้วยา

ในบทความนี้เราจะเจาะลึกเรื่องรายละเอียดของการฝากหลักทรัพย์ดิจิทัล มันมีการทำงานอย่างไรและทำความเข้าใจภาพรวมของการดูและระบบสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน ความท้าทายและความยากในแง่ความปลอดภัย รวมไปถึงตัวเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ต้องเจอ

อย่างแรกสุดที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลคือ บทบาทของผู้ดูแลหรือการดูแลหลักทรัพย์ในตลาดนั้นจะต้องปลอดภัยมากพอเพื่อส่งเสริมให้นวัตกรรมที่สร้างจากเทคโนโลยีและหลักทรัพย์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้ สามารถสร้างความสมดุลระหว่างการดูแลหลักทรัพย์ของลูกค้าและการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

การถือ Cryptocurrency ที่แท้จริงนั้นคือเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลทุกคนเป็นเสมือนผู้ดูแลทรัพย์สินของตนเองหรือเรียกได้ว่ามันเป็น “ธนาคารของคุณเอง”  ตรงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อเทียบกับระบบการเงินแบบดั้งเดิม แต่ก็ทำให้ความเสี่ยงมีมากขึ้นและต้องมีความรับผิดชอบในการดูแลหลักทรัพย์เหล่านั้นมากขึ้นเช่นกัน

เราจะคาดหวังอะไรได้บ้างจากผู้ดูแลรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของเรา

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าสินทรัพย์ดิจิทัลและการควบคุมดูแลวันนี้ยังอยู่ในช่วงแรกเริ่มอยู่ ปัจจุบันมีตัวเลือกมากมายที่มีแนวทางและกลยุทธ์ที่แตกต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของสินทรัพย์ ในขณะที่ตลาดและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ลูกค้าและผู้ให้บริการดูแลสินทรัพย์ควรมีแนวทางร่วมกันเพื่อจัดการดูแลและต้องอาศัยการทำงานอย่างใกล้ชิด  

มองย้อนกลับไปแม้ว่าเราจะเอาบิทคอยออกจากภาพรวม แต่ปัจจุบันตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลกก็ยังมีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งวัดจาดมูลค่าตลาดสกุลเงินดิจิทัลทั้งหมด (ไม่รวมบิทคอย) โดยคาดการว่าตัวเลขจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่าต่อเนื่องและการนำสินทรัพย์เหล่านี้มาใช้จะกลายเป็นเรื่องปกติ  ผู้ให้บริการดูเลสินทรัพย์ดิจิทัลตั้งแต่ช่วงแรกๆ กำลังเริ่มขยายเครือข่ายออกไปทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ ความจำเป็นในการยอมรับในระบบการกำกับดูแลที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นมากขึ้น

ในระยะยาว เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องพัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีโครงสร้างที่ดีและปลอดภัยให้มีความน่าเชื่อถือ เข้าถึงได้ง่ายและราคาไม่แพง  ผู้รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการช่วยให้เกิดการพัฒนาและยอมรับสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยฐานผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นจึงมีความต้องการทั่วโลกในการเลือกผู้ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะสมในการเข้ามาจัดการการใช้สินทรัพย์   อย่างไรก็ตาม  ทั่วโลกเพิ่มขึ้นจึงมีความต้องการทั่วโลกในการเลือกผู้ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะสมในการเข้ามาจัดการการ

การกำกับดูแลจะกลายเป็นส่วนสำคุญของภาพรวมสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างไร

การสร้างความเชื่อมั่นในสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเรื่องจำเป็นในการดึงดูดและรักษากลุ่มนักลงทุนหลากหลายกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มนักลงทุนสถาบัน รวมไปถึงนักลงทุนทั่วๆ ไป จึงทำให้บทบาทของผู้ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายนี้ 

ความสนใจต่อสินทรัพย์ดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของการกำกับดูแล   ในขณะที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลง ตัวเลือกการกำกับดูแลหลายประเภทเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง โดยผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ พยายามสร้างโครงสร้างระบบและการควบคุมเพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ

Private Key ของกระเป๋าคริปโตเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการนี้ มันค่อนข้างมีความซับซ้อนและเข้าใจยาก การดูแลรหัสนี้ได้ไม่ดีพอทำให้เราได้เห็นการแฮ็กข้อมูลและการขโมยเหรียญจำนวนมาก   การดูแลรับฝากหลักทรัพย์ดิจิทัลจึงกลายมาเป็นบริการนอกเหนือจากการบริการแบบเดิมๆ  โดยถือเป็นตัวช่วยในเรื่องรักษาความปลอดภัยของสินทรัพย์ดิจิทัลให้กับลูกค้า

ศูนย์แลกเปลี่ยนหรือธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแยกวิธีการเก็บรักษาเหรียญเป็น 2 แบบ

  • การเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ หรือที่เรียกว่า “Hot Storage”  คือการเก็บรักษาไว้บนแพลตฟอร์มซึ่งถือว่าสะดวกสำหรับการใช้งานประจำวัน แต่เสี่ยงต่อการถูกขโมยและแฮ็ก เนื่องจากคีย์ส่วนตัวและกระเป๋าสตางค์เราต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อใช้งาน
  • การเก็บข้อมูลแบบออฟไลน์ หรือที่เรียกว่า “Cold Storage” เป็นวิธีการที่เก็บคีย์หลักและกระเป๋าสตางค์เราโดยไม่เชื่อมต่อกับเครือข่ายใดเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะมีคนแฮ็กทรัพย์สินของเรา  วิธีนี้นับว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยสำหรับการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล แต่มีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งต้องใช้เวลาในการเข้าถึงสินทรัพย์

กองทุนส่วนใหญ่หันมาใช้ “Cold Wallet” เนื่องจากเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลมักร้องขอให้มีตัวเลือกดังกล่าวเพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สิน

ปัจจุบันมีผู้ให้บริดาร Cold Storage อยู่ 3 ประเภท

  • Crypto exchange safekeeping  ศูนย์แลกเปลี่ยนมีความชัดเจนในการเพิ่มข้อเสนอการรักษาความปลอดภัยเพื่อดึงดูดการหมุนเวียนของสินทรัพย์ของสถาบัน ในการดำเนินการดังกล่าว จึงมีการหาโซลูชั่น (เช่น Bitgo และ Gemini)   บริษัทใหญ่อย่าง Coinbase เองก็ได้ตัดสินใจเปิดบริษัทย่อยเพื่อหันมามุ่งเน่นเรื่องการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล  Coinbase Custody ร่วมเป็นพาร์ทแนอร์กับ Electronic Transaction Clearing (ETC) 
  • Dedicated safekeeping solution: มีผู้ให้บริการหน้าใหม่จำนวนมากเกิดขึ้นเพื่อสร้างโซลูชั่นเฉพาะซึ่งเป็นการผสามผสานระหว่างเทคโนโลยีและการรักษาความปลอดภัยทางกายภาพเพื่อให้มั่นใจว่ามีการเก็บรักษาคีย์และทรัพย์สินไว้อย่างปลอดภัยในระบบออฟไลน์ (เช่น Xapo และ Swiss Crypto Vault)  เปรียบเสมือนการมีห้องนิรภัยที่มีตำรวจคุ้มกันอยู่  อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือต้องใช้เวลาเมื่อต้องการเข้าระบบและทำการโอนสินทรัพย์อย่างเร่งด่วน  
  • Specialist technology providers:  ผู้ให้บริการในกลุ่มนี้คือการใช้ระบบกระเป๋าเงินฮาร์ดแวร์เช่น Ledger  และ Trezor  เป็นการรวมเอาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้ผู้ใช้บริการมั่นใจในระบบความปลอดภัยของการเก็บรักษาคีย์และ Crypto-Addresse

นอกจากนี้ เราควรให้ความสำคัญกับกฎระเบียบในการกำกับการดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญของภาพรวมในตลาดอย่างที่เราเห็นได้ในประเทศไทย

ใครคือผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดขณะนี้

ในวงการของสกุลเงินดิจิทัลนี้ มีธนาคารยักษ์ใหญ่ไม่กี่แห่งที่ให้บริการดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งช่วยลดความกลับที่มาจากความเสี่ยงของการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบต่างๆ ด้วยตัวเองของนักลงทุน เนื่องจากบริการการดูแลสินทรัพย์เหล่านี้จะเป็นแพลตฟอร์มที่มีการออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการถูกหลอกขโมยกระเป๋าสตางค์ หรือการทำคีย์หาย เป็นต้น 

ธนาคารอันดับต้นๆ ที่ให้บริการคือ 

  • Bank of New York Mellon
  • State Street Corporation
  • J.P. Morgan
  • Citigroup

ธนาคารในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ Vontobel  ได้เปิดตัว Digital Asset Vault ซึ่งเป็นการบริการที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงธนาคารและผู้จัดการสินทรัพย์มากกว่า 100 แห่ง  พื้นฐานหลักคือการที่สามารถแนะนำการซื้อขาย การดูแล และการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลโดยใช้พื้นฐานโครงสร้างที่มีอยู่ของสถาบันที่สามารถความคุมตรวจสอบได้    ในทำนองเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเยอรมันนี Börse Stuttgart, State Street, รวมถึงสถาบันผู้ให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัยสินทรัพย์อย่าง Fidelity เริ่มมองถึงอนาคตที่สินทรัพย์ทุกประเภทจะถูกจัดการบนระบบบล๊อกเชนหรือในรูปแบบโทเค็น  การให้บริการเต็มรูปแบบของสถาบันเหล่านี้ จะเป็นตัวเพิ่มความเชื่อมันในระบบความปลอดภัย การซื้อขายและการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตาม Coinbase กำลังเป็นผู้ครองตลาดการดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในขณะนี้  Coinbase Custody เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมให้เข้าสู่การดูแลระดับสถาบันอย่างเช่น Keystone Capital จากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ที่ขึ้นทะเบียน และผู้ให้บริการระดับสถาบันด้านการจัดเก็บข้อมูลอย่าง Xapo.      ศูนย์ดูแลหลักทรัพย์ Coinbase Custody คิดเป็น 11% ของคริปโตทั้งหมดในปี 2020 นหรือนับเป็นมูลค่า 90 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาศสุดท้ายของปี 2020  มูลค่าดังกล่าวทำให้ Coinbase Custody เป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์คริปโตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งคิดเป็น 70% ของคริปโตทั้งหมด

ปัจจุบัน Coinbase Custody  มีคุณสมบัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้สำหรับ Grayscale Investments  พวกเขานำเสนอโซลูชั่นที่ออกแบบมาเพื่อการจัดเก็บสินทรัพย์คริปโต แต่ก็มีลักษณะการทำงานคล้ายให้บริการแบบดั้งเดิม โดยยึดกฎและหลักเกณฑ์เดียวกัน  ผู้ดูแลหลักทรัพย์ที่มีคุณสมบัติและได้รับการรับรองในแต่ละประเทศจะกลายเป็นบรรทัดฐานของกรอบการทำงานที่ชัดเจนสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล

สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อธุรกิจการดูแลแบบดั้งเดิมของธนาคารอย่างไร 

Gongpil Choi ผู้อำนวยการสถาบันการเงินแห่งประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นในการวิจัยละประเมินนโยบายทางการเงินที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเงินของประเทศ กล่าวว่า “ภาคการเงินแบบดั้งเดิมมองเห็นการจัดตั้งการตลาดกำกับการดูแล  เหรียญคริปโตมีความเสี่ยงที่สูงกว่าสินทรัพย์เดิมๆ ที่มีมา และศูนย์รับฝากและดูแลสินทรัพย์คริปโตจะกลายเป็นตลาดที่เติมโตอย่างรวดเร็ว” ไม่น่าแปลกใจที่ตลาดถูกขับเคลื่อนด้วยสินทรัพย์คริปโตและเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintechs)  อย่างไรก็ตามผู้เล่นแบบดั้งเดิมมีแนวโน้มที่จะเข้ามาสู่ตลาดเร็วกว่าที่คาดการณ์  

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ของสหรัฐได้ริเริ่มโครงการนำร่อง เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งนายหน้าและตัวแทนจะต้องดำเนินงานภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ รวมถึงการจำกัดธุรกิจให้สามารถครอบครองหรือควาบคุมหลักทรัพย์ของลูกค้า 

สินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกหรือโอนจากบัญชีแยกประเภทอาจจะไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดและขั้นตอนการชำระบัญชีที่กำหนดไว้แบบเดียวกับที่ตลาดหลักทรัพย์ทั่วไปคุ้นเคย  ลักษณะการกระจายอำนาจของอุสาหกรรม DeFi ทำให้เกิดความเสี่ยงที่นายหน้าตัวแทนที่ดูและทรัพย์สินประเภทนี้ ตลอดจนลูกค้าและคู่ค้าอื่นๆ ได้รับผลกระทบทางการเงิน  นี่เป็นเรื่องใหม่ที่ต้องได้รับการพิจารณาโดยธุรกิจที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแล    ดังนั้น ขั้นตอนและโปรโตคอลเชิงลึกควรร่วมกันพิจารณาจากมุมมองของผู้ให้บริการดูแลสินทรัพย์ด้วย    ตัวอย่างเช่น นายหน้าตัวแทนอาจตกเป็นเหยื่อจากการฉ้อโกงหรือการโจรกรรม หรือPrivate Key สูญหาย หรือการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไปผิดบัญชีซึ่งไม่อาจแก้ไขได้     นอกจากนี้ อาจทำให้คนบางกลุ่มทำธุรกรรมผิดกฎหมายโดยใช้ช่องโหว่ที่เกิดจากเทคโนโลยีและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้ตัวแทน-นายน้าไม่สามารถโอนสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าได้   

ก.ล.ต. ระบุว่า “หน่วยงานกำกับดูแลควรมีความชัดเจนด้านกฎระเบียบเพื่อให้ผู้เข้าร่วมในตลาดการเงินแบบดั้งเดิมมีส่วนร่วมกับ Crypto เพื่อสร้างความมั่นใจว่าพวกเขาจะสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับได้”    ก.ล.ต. กล่าวว่าหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐและรัฐบาลกลางกำลังทำงานร่วมกันโดยหวังว่าจะเป็นส่วนช่วยส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมคริปโต

หน่วยงานดูแลสินทรัพย์จะเป็นส่วนสำคัญของการเป็นเจ้าของคริปโตในอนาคตได้อย่างไร 

ผลวิจัยโดย Bank of New York Mello ชี้ให้เห็นว่าความต้องการ Crypto-Centric Custody สูงขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา นี่อาจเกิดจากนักวิเคราะห์เชื่อว่าผู้ให้บริการดูแลสินทรัพย์จะเป็นสะพานระหว่างนักลงทุนสถาบันและอุสากรรมดิจิทัล

การลงทุนในเหรียญคริปโตเป็นก้าวสำคัญของกลุ่มนักลงทุนสถาบันไม่ว่าจะเป็น Crypto-first หรือแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นความท้าทายในส่วนปฎิบัติการ, การตลาด และระบบรักษาความปลอดภัย : เนื่องด้วยเทคโนโลยียังใหม่ และกฎระเบียบยังไม่ชัดเจน อีกทั้งความเสี่ยงที่สูงกว่าการลงทุนแบบเดิม แต่ตลาดคริปโตกลับมีการพัฒนามากว่าทศวรรษแล้วนั้น ตอนนี้มีสินทรัพย์หลายสิบรายการที่เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนระดับมืออาชีพ

การควบคุมดูแลยังคงเป็นอุปสรรคเรื่องแรกๆ สำหรับนักลงทุนกลุ่มสภาบัน 

เมื่อต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนเหล่านี้ กลุ่ม Crypto-First อาจรู้สึกว่าพวกเขาไม่มีทางเลือกนอกจากดูแลสินทรัพย์ด้วยตัวเอง ในทางกลับกัน กลุ่มสถาบันที่ยังใหม่กับตลาดอาจมีหน่วยงานดูแลสินทรัพย์อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่แน่ใจว่าจะจัดการกับสินทรัพย์เหล่านี้ได้อย่างไร

ยิ่งไปกว่านั้น ตัวเลือกของผู้ให้บริการที่ไม่มีคุณภาพพออาจทำให้กลุ่มสถาบันต้องเลือกที่จะขายหลักทรัพย์, สินทรัพย์ และพันธบัตรเพื่อนำมาลงทุนในคริปโต  นี่เป็นสาเหตุที่ผู้ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Custody)  มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และเป็นตัวส่งเสริมให้มีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลและบล๊อกเชน

บทความหน้าเราจะมาเจาะประเด็นเกี่ยวกับประเทศไทยและกฎระเบียบข้อบังคับว่าจะพาตลาดไปในทิศทางใด