Learn » Web3 Security » สงครามหุ้นเกมสต๊อป – วอลสตรีท และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับ DeFi

สงครามหุ้นเกมสต๊อป – วอลสตรีท และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับ DeFi

ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา  กลุ่มผู้ใช้ Reddit ซึ่งเป็นสมาชิกของ Subreddit ที่เรียกตัวเองว่า r/WallStreetBets ได้สร้างปรากฏการณ์พาดหัวข่าวใหญ่ระหว่างประเทศเมื่อพวกเขารวมกลุ่มกันเพื่อซื้อหุ้นเกมสต๊อป (Gamestop)  หุ้นเกมสต๊อป (GME) เป็นบริษัทจัดจำหน่ายวีดีโอเกมและเครื่องเล่นในห้างสรรพสินค้า  ธุรกิจของเกมสต๊อปชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจากผู้บริโภคเริ่มหันมาซื้อเกมส์ออนไลน์กันมากขึ้น ส่งผลให้หุ้นของเกมสต๊อปเป็นหนึ่งในหุ้นที่มีการขายชอร์ต (Short) มากที่สุดในตลาด จนกระทั่งอัตราชอร์ตหุ้นสะสมคิดเป็น 140% ของหุ้นที่มีอยู่

กลุ่ม Reddit กลุ่มหนึ่งเริ่มมองเห็นแล้วว่าพวกเขากำลังเผชิญกับ Naked Short ซึ่งเข้าข่ายการขายหุ้นที่ผิดกฏหมาย เนื่องจากเป็นการขายหุ้นชอร์ตที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่ามีอยู่จริงในมือ   หากมีคนซื้อหุ้นมากพอ ก็จะเป็นการกดดันให้ผู้ขายซื้อหุ้นเข้ามาเพิ่ม ซึ่งก่อให้เกิดการปรับราคาให้สูงขึ้นเรื่อยๆ  หรือที่เรียกว่า Snowball Effect

การร่วมมือกันเพื่อเดิมพันกับวอลสตรีท พวกเขาเริ่มเข้าซื้อหุ้นเกมสต๊อปจำนวนมาก ทำให้ราคาทะยานขึ้นจากระดับต่ำสุดที่ 2.57 ดอลลาร์/หุ้น ในรอบ 52 สัปดาห์ขึ้นเป็น 483.00 ดอลลาร์   ในช่วงที่ราคาพุ่งสูงขึ้นไป เราได้เห็นความพยายามของโบรกเกอร์ที่จะหยุดคนทั่วไปจากการซื้อหุ้น ซึ่งมันก็ได้ผล ราคาดีดกลับลงมาเหลือที่ 50 ดอลลาร์ และจากการพยายาม Short Squeeze ในครั้งที่สอง ตอนนี้ราคาฟื้นตัวมาอยู่ที่ 100 ดอลลาร์/หุ้น (ณ. วันที่ 26 กุมภาพันธ์)

เหตุการณ์ที่เกิดกับ GME  ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญในระบบการเงินว่านักลงทุนรายย่อยต้องพึ่งพาตัวกลางอยู่ทั้งหมด    เพราะฉะนั้น หากคนทั่วไปต้องการเลี่ยงการเทรดผ่านวอลสตรีท  ระบบการเงินแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Finance) จะเข้ามาเป็นตัวตอบโจทย์

กรณีศึกษาระบบการเงินแบบกระจายอำนาจ (Decentralize Finance)

ราคาที่ทะยานขึ้นของเกมสต๊อปทำให้กองทุน Hedge Funds ที่ทำการชอร์ตหุ้นเริ่มเงินขาดมือ  แม้กระทั่ง แอป Robinhood   ซึ่งเป็นแอปที่ให้ Redditors จำนวนมากใช้ทำการซื้อขายได้โดยไม่มีค่าคอมมิชชั่น เริ่มหยุดให้ผู้ใช้ซื้อขายหุ้น   เหตุผลคือ Robinhood ต้องดำเนินงานให้ตรงตามข้อกำหนดของหน่วยงานกลาง   “เราไม่มีทางเลือกในกรณีนี้”  Vlad Tenev ซีอีโอของ Robinhood ให้สัมภาษณ์      “ในเช้าวันพฤหัสบดี ทีมงานของ Robinhood ได้รับการติดต่อจาก National Securities Clearing Corporation (NSCC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Depository Trust and Clearing Corporation (DTCC) เพื่อขอให้เพิ่มเงินประกัน 3 พันล้านดอลลาร์เพื่อเป็นการสำรองปริมาณการเทรดที่เพิ่มขึ้นจากเกมสต๊อปและหุ้นอื่นๆ      การเรียกเงินประกัน 3 พันล้านดอลลาห์เป็นข้อเรียกร้องที่เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าจากเวลาปกติ”  Tenev กล่าว  

จากเหตุการณ์นี้เอง ทำให้ผู้ใช้แอปของ Robinhood ไม่สามารถซื้อหุ้นได้และราคาก็ปรับต่ำลง   นักลงทุนรายย่อยหลายพันคนเริ่มตระหนักว่าพวกเขาไม่สามารถควบคุมพอร์ตของตนเองได้

จากหลังจากความปั่นป่วนนี้  ระบบการเงินแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Finance) ที่ช่วยให้นักเทรดไม่ต้องพึ่งธนาคาร, นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และศูนย์แลกแปลี่ยน กลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหา “ตลาดเสรี” 

วันนี้ “Defi” มีมูลค่าสูงถึง 42 พันล้านดอลลาร์ และยังคงเติมโตอย่างต่อเนื่องทุกเดือน 

ในช่วงที่มีการเติมโตที่รวดเร็วนี้   มีโปรโตคอล DeFi หลายตัวเริ่มถูกนำไปใช้  :

Decentralized Exchange like https://uniswap.org/

Decentralized exchange with leverage: https://dydx.exchange/

Decentralized lending: https://aave.com/

Decentralized leverage: https://alphafinance.io/

ประเด็นร้อนของเกมสตอป์ทำให้ผู้คนเริ่มมองหาตลาดการเงินที่ไม่ถูกควบคุมโดยวอลสตรีท  ระบบการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) เป็นตัวเลือกของตลาดเสรีที่ปราศจากบุคคลภายนอกเข้ามามีอำนาจหยุดธุรกรรมทางการเงินของเรา      สึนามิของการซื้อขายหุ้นเกมสต๊อปแสดงให้เห็นถึงความต้องการตลาด ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

ระบบกระจายอำนาจทางการเงินกำลังมา (Decentralized Finance)

ข้อได้เปรียบหลักของการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) คือ การมีเทคโนโลยีบล๊อกเชนเข้ามาช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมได้โดยตรง    การเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi)ไม่เหมือนกับแอป Robinhood คือไม่ต้องผ่านหน่วยงานกลาง หรือกองทุนป้องกันความเสี่ยงใดๆ (Hedge Fund)

การซื้อขายหุ้นเกมสต๊อปแบบรถไฟเหาะตีลังกานี้เอง เผยให้เห็นข้อบกพร่องหลายอย่างในระบบการทำธุระกรรมและระบบธนาคารแบบเดิมๆ  บล๊อกเชนและระบบการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) เข้ามานำเสนอทางเลือกที่มีความปลอกภัยสูงแต่ทำได้แบบไร้ขีดจำกัด   กรณีเกมสต๊อปทำให้ทั่วโลกเห็นว่าระบบที่แอปหรือตัวกลางสามรถหยุดการซื้อขายได้เพียงเพราะผู้ถือหุ้นบางรายสูญเสียเงิน เป็นลักษณะของตลาดที่ขาดความสมดุลย์    บล๊อกเชนและระบบการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) เป็นการทำธุรกรรมที่มีอิสระอย่างแท้จริง โดยไม่ถูกแทรกแซงจากบุคคลที่สาม   ระบบการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) จะเป็นเหมือนเครื่องมือพิเศษให้ผู้ใช้ทุกคน

สองปีที่ผ่านมา ระบบการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) กำลังบุกตลาดยักษ์ใหญ่เพื่อคืนความสมดุลให้วอลสตรีทและนักลงทุนรายย่อย   มูลค่าตลาดในวันนี้ยังอาจดูไม่มาก (ประมาณ 40พันล้านดอลลาร์) แต่นี่เป็นการเพิ่มขึ้นถึง 40 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน   หลายบริษัทกำลังสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ที่เลียนแบบระบบการเงินแบบดั้งเดิมเช่น Terra Mirrors เพื่อซื้อขายหุ้นจดทะเบียนในสหรัฐฯ แบบ 24 ชม.     ที่อะตาโต้ เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจการเงินและการธนาคารที่หันมาให้ความสนใจและศึกษาว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมในระบบนิเวศน์นี้โดยยังอยู่ภายใต้กฏระเบียบได้อย่างไร   DeFi เพิ่งเริ่มต้น และมันเป็นการบังคับให้ระบบการเงินแบบเดิมต้องพัฒนาและปรับตัวให้ทัน

คนอาจจะจำเรื่อง GME เป็นประวัตศาสตร์ว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทหรือคนกลางอีกต่อไป  เราอาจจะได้เห็นความเฟื่องฟูของระบบการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi)  หรือหากมันไม่ใช่ อย่างน้อยเราคงได้เห็นการเกิดใหม่ของระบบนิเวศน์ที่ถูกสร้างบนแพลตฟอร์มบล็อกเชนอย่างแน่นอน

หากคุณกำลังมองหาผู้ช่วยในการเริ่มต้นธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือมองหาผู้ช่วยพัฒนาระบบ DeFi   ติดต่อเราได้ที่ [email protected]

แม็กซิม พอล