ผมทำงานในวงการบล๊อกเชนสำหรับองค์กรมาตั้งแต่วันแรกในปี 2015 ไม่มีหัวข้อไหนน่าสับสนเท่าเรื่องฐานข้อมูลแบบกระจายตัว (Decentralization) ส่วนหนึ่งอาจะเป็นเพราะเราเข้าใจแนวความคิดที่ชัดเจนในเรื่องระบบโครงสร้างที่มีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralization) เราจึงอนุมานว่าเรารู้ ว่าการมีฐานข้อมูลแบบกระจายตัว (Decentralization) จะเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม แนวคิดโครงสร้างการมีฐานข้อมูลแบบกระจายตัว (Decentralization) เป็นแนวคิดที่กว้างกว่าและดูยังไม่ชัดเจนทั้งในเชิงเทคนิคและเชิงธุรกิจ
ผมคิดว่าระบบโครงสร้างแบบกระจายตัว (Decentralization) สามารถแบ่งคำจำกัดความออกเป็นสามส่วน ซึ่งคนส่วนมากยังไม่เข้าใจและสับสนกับมัน จริงๆ แล้วคำจำกัดความทั้งสามส่วนนั้นมีความหมายที่สมบูรณ์ในตัวมันเองอยู่แล้ว ครั้งนี้ แทนที่เราจะใช้คำเดิมๆ ซ้ำๆ ตามแบบเก่า เราใช้วิธีผสมผสานแนวความคิดหลายอย่างเข้าด้วยกัน ยังดูสับสนอยู่ใช่มั๊ยครับ
คำจัดกัดความทั้งสามส่วนเกี่ยวกับระบบโครงสร้างฐานข้อมูลแบบกระจายตัว (Decentralization) ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ ถ้าคนสองคนกำลังพูถึงเรื่องบล๊อกเชนกันอยู่ แต่ละคนอาจจะมีคำจัดกัดความในใจต่างกันไป ทำให้ต่างคนต่างมีข้อสรุปที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้น อาจพูดได้ว่าความแตกต่างของคำจำกัดความนี้ เป็นต้นเหตุแห่งความสับสนเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัว (Decentralization)
ระบบโครงสร้างฐานข้อมูลแบบกระจายตัว (Decentralization) ทั้ง 3 ประเภท
เรามาลงในรายละเอียดคำจำกัดความของทั้งสามประเภทอ้างอิงจากการใช้งานในองค์กร
- ทางธุรกิจ ความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อลดหน่วยงานกลางที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการถือสินทรัพย์หรือข้อมูล
แผนภาพที่ 1: ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางธุรกิจ (Business Decentralization)
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางธุรกิจ (Business Decentralization) คือการใช้บล๊อกเชนแทนการการทำงานแบบรวมศูนย์ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลผ่านสมารท์ คอนแทรก (Smart Contract)
ในคำจำกัดความทางธุรกิจ เรามักจำได้ยินคำว่า Disintermediation : คือการที่ทั้งสองฝ่ายเคยต้องพึ่งพาตัวกลางเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม แต่ปัจจุบันเราสามารถทำธุรกรรมโดยตรงได้แล้ว บางครั้งแนวคิดทางธุรกิจอาจหลอกเราด้วยคำอธิบายว่าเป็นการทำธุรกรรมตรง (Point to Point) โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางที่ไม่จำเป็น (Extra Hops) จากประสบการณ์ของผมนั้นพบว่า น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของกรณีใช้งานจริงที่เข้าข่ายโครงสร้างระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัว (Decentralization) ตัวกลางส่วนใหญ่ยังคงมีอยู่ด้วยเหตุผลบางประการ และคงเป็นเรื่องยากที่จะตัดออกจากระบบ
- ทางกายภาพ : การใช้เครือข่ายเดียวกันทั่วโลกบนเซิร์ฟเวอร์บล๊อกเชน หรือที่เรียกว่าเมนเน็ต (Mainnet) เป็นเรื่องใหญ่และท้าทาย โดยเฉพาะหากเราต้องการให้เครือข่ายมีความเป็นอิสระและยั่งยืน
แผนภาพที่ 2 : ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางกายภาพ (Physical Decentralization)
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางกายภาพ (Physical Decentralization) คือการกระจายตัวของเซิร์ฟเวอร์บล๊อกเชนทั่วโลก โดยดำเนินการจากหลายหน่วยงาน
แนวคิดหลักในส่วนนี้คือ “มันจะเป็นเรื่องดีมากหากเรามีโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ไม่มีฝ่ายใดเป็นเจ้าของหรือควบคุมมัน ทุกๆ คนสามารถใช้งานเครือข่ายได้หากเขามีกำลังจ่าย” ยกตัวอย่างเช่น บิทคอย (Bitcoin) ถูกออกแบบมาให้สามารถตรวจสอบได้ อย่างเช่นถ้าคุณมีบิทคอย (Bitcoin) แล้ว ไม่มีใครสามารถห้ามคุณในการใช้ในเครือข่ายได้ (กรณีที่คุณสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต) เครือข่ายระดับโลกที่กล่าวมานี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกลุ่มผู้ใช้ขนาดใหญ่และหลากหลาย (มักจะเป็นคนแปลกหน้า) เข้ามาเปิดโหนด (Node) หรือเครื่องที่รันระบบบล๊อกเชน คนแปลกหน้ากลุ่มนี้ถูกขับเคลื่อนให้เข้ามาใช้งานโดยที่พวกเขาได้รับค่าตอบแทนจากการทำธุรกรรมของคุณ (ในทางเทคนิคกระบวนการนี้เรียกว่า “การขุด” โดยพวกเขาจะต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงโทเค็น โดยการสร้างบล๊อก)
ของระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางกายภาพ (Physical Decentralization) จำเป็นสำหรับเครือข่ายบล๊อกเชนสาธารณะ แต่อาจจะสำคัญน้อยลงสำหรับเครือข่ายบล๊อกเชนที่ใช้ในองค์กร หรือระบบปิด
- ทางธุรกรรม : เนื่องจากองค์กรต่างๆ ได้เริ่มนำเทคโนโลยีของบล๊อกเชนเข้ามาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการมากขึ้น ธุรกรรม B2B ซึ่งถือเป็นธุรกรรมหลักของธุรกิจจำนวนมากได้เริ่มบูรณาการณ์เต็มรูปแบบแล้ว
แผนภาพที่ 3 : ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางธุรกรรม (Transactional Decentralization)
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางธุรกรรม (Transactional Decentralization) คือการนำบล๊อกเชนเข้ามาใช้สำหรัลธุรกรรม B2B เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพแล้งความโปร่งใส รวมถึงความน่าเชื่อถือในเครือข่าย B2B
เครือข่ายมูลค่า (Value Chains) และระบบนิเวศในระบบเศรษฐกิจ (Ecosystems) ของโลกเรานั้น เกิดจากความสัมพัทธ์ทางธุรกิจที่ซับซ้อนและหลากหลาย การสร้างบล๊อก (Block) แสดงให้เห็นถือความสัมพันธ์ของสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) และสมุดบัญชี (Ledgers) การสร้างเครือข่ายบล๊อกเชนทำให้เราเห็นถึงโครงสร้างธุรกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการใช้ สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) และสมุดบัญชี (Ledgers) ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย บล๊อกเชนสำหรับองค์กรนั้นมีการใช้สมุดบัญชี (Ledgers) ร่วมกันในการเก็บข้อมูลธุรกรรมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง และสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ช่วยให้ธุรกรรมมีประสิทธิภาพและเชื่อถือยิ่งขึ้น ขั้นตอนดังกล่าวคือ การที่ฝ่ายประมวลผลข้อมูล ฝ่ายยืนยันข้อมูลและฝ่ายจัดเก็บข้อมูลจะถูกแยกออกจากกัน เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยของระบบ
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางธุรกรรม (Transactional Decentralization) นับเป็นความก้าวหน้าสำหรับการทำงานหลังบ้านขององค์กรต่างๆ
อาจเป็นเพราะผมได้เริ่มทำงานในองค์กรบล๊อกเชนตั้งแต่ปี 2015 ให้ทำพบว่าความสับสนในเรื่องนี้ดูจะเป็นเรื่องปกติ คนในองค์กรมักจะเข้าใจไปว่าบล๊อกเชนนั้นเกี่ยวข้องกับธุรกิจ และ/หรือ ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางกายภาพ (Business/Physical Decentralization) แท้ที่จริงแล้ว มูลค่าของบล๊อกเชนสำหรับองค์กร คือ ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางธุรกรรม (Transactional Decentralization)
เทคโนโลยีใหม่ๆ นี้ จะทำให้ B2B ได้รับการพัฒนา โดยหน่วยงานต่างๆ ใช้สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) เดียวกัน เพื่อให้ได้ผลรับและบันทึกข้อมูลสอดคล้องต่อเนื่องกัน ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ยังไม่สามารถทำให้เกินขึ้นได้ในโลก B2B ในปัจจุบัน เนื่องด้วยธุรกิจต่างๆ ยังคงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล, ความเป็นอิสระของข้อมูล รวมทั้งไม่ต้องการเสียอำนาจการควบคุมตลอดกระบวนการ
ตารางสรุป
ตารางที่ 1 : สรุปประเภทการโครงสร้างระบบการเก็บฐานข้อมูลแบบกระจายตัว (Decentralization)
ระบบการเก็บฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทั้งสามแบบคือธุรกิจ, กายภาพ และธุรกรรมเป็นแนวคิดที่เป็นจริงได้ ที่จะเป็นเสาหลักให้บล๊อกเชน ระบบนิเวศในระบบเศรษฐกิจ (Ecosystem) ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของทั้งสามประเภทเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่าแต่ละตัวสามารถใช้พัฒนาอะไรได้บ้าง การเก็บฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางธุรกรรม (Transactional Decentralization) เป็นตัวเด่นที่อาจจะยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าไรนัก ถึงเวลาแล้วที่กลุ่มองค์กรจะตระหนักถึงศักยภาพที่แท้จริงของมัน
ยังมีต้นทุนและมูลค่าธุรกิจของหลายๆ องค์กรที่ยังขึ้นอยู่กับเครือข่ายการทำธุรกิจแบบเดิมๆ บล๊อกเชนสำหรับองค์กรจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยปลดล๊อคเครือข่ายการทำงานของ B2B เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในทิศทางใหม่ๆ เครือข่ายเหล่านี้จะได้รับผลประโยชน์จากการร่วมมือที่โปร่งใสในการทำธุรกรรม อย่างไรก็ตามการจัเก็บฐานข้องมูลแบบกระจายตัวทางธุรกรรม (Transactional Decentralization) จะเป็นการช่วยทำให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าจะสามารถควบคุมข้อมูลและการทำธุรกรรมขององค์กรได้ ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบการจายตัวทางอื่นๆ อาจจะเริ่มหายไป แต่การจัดเก็บฐานข้อมูลแบบกระจายตัวทางธุรกรรม (Transactional Decentralization) จะเป็นเครื่องมือหลักในอนาคตของ CIO และเจ้าของธุรกิจ
หากท่านใดสนใจเกี่ยวกับระบบการเก็บฐานข้อมูลแบบกระจายตัว (decentralization) เพิ่มเติม สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ฟรีจากบล๊อกเชนแพลตฟอร์ม โดยลงทะเบียนได้ที่นี่