Learn » Web3 Education » โทเค็น คือ ? วิธีอธิบายการสร้างโทเค็นให้เด็กหกขวบเข้าใจ
blockchain operating system

โทเค็น คือ ? วิธีอธิบายการสร้างโทเค็นให้เด็กหกขวบเข้าใจ

Table of Contents

โทเค็น คือ ?

By Lex Sokolin, ConsenSys CMO (translation by Atato)

แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีเด็กหกขวบที่สนใจเกี่ยวกับคริปโตเข้ามาซักถามคุณเกี่ยวกับบล๊อกเชน แต่อย่างที่อัลเบริต์ ไอร์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า “หากคุณไม่สามารถอธิบายให้เด็กหกขวบเข้าใจได้ บางทีมันหมายถึงคุณไม่เข้าใจมันเองด้วยซ้ำ” เมื่อเป็นเช่นนี้ Consensys Codefi จึงต้องการอธิบายกระบวนการโทเค็นโดยใช้การเปรียบเทียบกับสิ่งที่เด็กอายุหกขวบรู้ เช่น ลูกแก้ว (Marble)

เรามาเริ่มกันที่โทเค็น :

โทเคนในแง่ดิจิทัลคือการแสดงถึงความเป็นเจ้าของ  “ของบางสิ่ง”  ด้วยการใช้ระบบที่ปลอดภัย โดยใช้วิธี  Cryptographic    “ของบางสิ่ง” ที่เรากำลังพูดถึง สามารถหมายถึงอะไรก็ได้ เช่น สินทรัพย์คริปโต, หุ้นบริษัท, กองทุน, เงินกู้ร่วม, พันธบัตรองค์กร,  อนุพันธ์, อสังหาริมทรัพย์, งานศิลปะ หรือแม้กระทั่งสินค้าฟุ่มเฟือย

คุณสมบัติและข้อกำหนดของโทเค็นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งาน  การเลือกโทเค็นที่ถูกต้องคือการเลือกจากข้อกำหนดการใช้งาน 

 

ขั้นที่ 1 : เลือกหมวดหมู่โทเค็น

แม้โทเค็นจะมีความหลากหลาย แต่เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักตาม Taxonomy Framework (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://github.com/interwork-alliance/TokenTaxonomyFramework)

ประเภทแรกคือโทเค็นที่ไม่มีความฉพาะตัว (Fungible Tokens)

โทเค็นที่ไม่มีความเฉพาะตัว (Fungible Tokens) คือทุกโทเค็นจะมีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด อีกทั้งยังไม่สามารถแยกความแตกต่างจากกันและกันได้ โทเค็นแต่ละตัวสามารถใช้แทนกันได้เช่น เงินดอลลาห์สหรัฐ, หุ้นบริษัท หรือทอง นี่เป็นโทเค็นในหมวดหมู่พื้นฐานและพบได้บ่อยที่สุด มีการใช้งานตรงไปตรงมาเช่นสกุลเงินคริปโต (เช่นบิทคอย หรืออีเธอร์)
ประเภทที่สอง คือโทเค็นที่มีความเฉพาะตัว (Non-Fungible Tokens)

โทเค็นที่มีความเฉพาะตัว (Non-Fungible Tokens)  คือทุกโทเค็นมีคุณสมบัติแตกต่างกันทั้งหมด แต่ละอันไม่สามารถใช้แทนกันได้  โทเค็นประเภทนี้ก็เหมือนการสะสมของที่มีความแตกต่าง, มีเอกลักษณ์     มันเป็นเหมือนตัวแทนของของที่เฉพาะ หรือของที่ไม่เหมือนใคร มันจึงใช้แลกเปลี่ยนกันไม่ได้   โทเค็นที่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ (NFTs) จึงใช้ในการสร้างทรัพย์สินดิจิทัลที่มีความหายากแตกต่างกันได้  อีกทั้งมันยังใช้แสดงความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ต่างๆ  เช่นอสังหาริมทรพย์, สินค้าฟุ่นเฟือย, งานศิลปะหรือของสะสมในวีดีโอเกมส์ (เช่น CrytoKitties)  โดยพื้นฐานแล้ว NFT จะใช้ในรายการที่ต้องใช้ลายนิ้วมือดิจิทัล     NFTs เป็นโทเค็นที่เปิดโอกาศที่หลากหลายสำหรับการใช้เทคโนโลยีบล๊อกเชน

ปรเภทที่สาม  คือโทเค็นไฮบริด หรือแบบผสมผสาน (Hybrid Tokens)

โทเค็นไฮบริด (Hybrid Tokens) เป็นส่วนผสมของทั้งแบบที่หนึ่งและสองจึงมีความซับซ้อนกว่าเล็กน้อย แต่ละโทเค็นจะถูกจัดอยู่ในคลาส (บางครั้งถูกเรียกว่าหมวดหมู่, พาร์ทิชั่น, ทรานส์) ซึ่งในคลาสเดียวกัน โทเค็นก็จะเหมือนกันคือใช้แทนกันได้ แต่โทเค็นที่อยู่คนละคลาส เราจะสามารถแยกความแตกต่างได้ และใช้แทนกันไม่ได้ เปรียบเทียบกับลูกแก้ว โทเค็นแบบไฮบริดเป็นเหมือนกลุ่มของลูกแก้วที่มีสีต่างกัน ถูกแบ่งกลุ่มไปตามสีที่เหมือนกัน โทเค็นไฮบริดใช้แทนในกลุ่มของกองทุน, ตู้คอนเทนเนอร์บนเรือ และอื่นๆ
สำหรับโทเค็นทั้งสามแบบ มีกฎที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมันในแต่ละสถานการณ์ สำหรับการใช้โทเค็นทั่วไป เช่นโทเค็นสินทรัพย์ทางการเงิน Ethereum ได้ถูกสร้างขึ้น (เช่น ERC20, ERC721, ERC1400) เพื่อให้มั่นใจว่าการมันสามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มที่มีอยู่ได้
ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทออกหุ้นผ่านโทเค็นตามมาตราฐานที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ที่กล่าวมาข้างต้น (เช่น ERC20, ERC721, ERC1400) บริษัทจะออกแบบให้สอดคล้องกับ Ethereum (OpenFInance, Templum, TZero และอื่นๆ) นอกจากนี้ ถ้าสินทรัพย์เป็นตามมาตราฐาน นักลงทุนสามารถเลือกวิธีการดูแลให้สอดคล้องกับสินทรัพย์ที่มีในกระเป๋า (Argent, Fortis, Meramask และอื่นๆ)

ขั้นตอนที่ 2 : กำหนดขั้นตอนการทำงาน (Workflow) และพฤติกรรมที่เหมาะสม (Behaviors)

โทเค็นทุกแบบคือชุดของสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่กำหนดคุณสมบติและการทำงานของมัน การทำงานของโทเค็นนั้นก็คือชุดสัญญาอัจฉริยะมาตราฐาน ซึ่งสามารถใช้กับผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ

โทเค็นสัญญาอัจฉริยะ (Token Smart Contract) เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำโทเค็นสินทรัพย์ทางการเงิน ตัวมันเองอาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้เป็นสินทรัพย์ทางการเงินเนื่องจากยังคงต้องปรับใช้กับการทำงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์จากโปรแกรมบล็อกเชนเช่น Ethereum เราจำเป็นต้องมีกฎและพฤติกรรมเฉพาะเพื่อใช้ควบคุมสินทรัพย์

หากเรามองโทเค็นเป็นเหมือนลูกแก้ว การทำโทเค็นของสินทรัพย์เป็นมากกว่าการสร้างลูกแก้ว (หรือโทเค็น) นอกจากนี้ยังรวมถึงแนวทางการเคลื่อนไหว ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้เองที่เราเรียกว่าขั้นตอนการทำงานของธุรกิจสำหรับสินทรัพย์โทเค็น

สรุปคือ โทเค็นสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Asset Tokenization) เป็นการรวมกันของ :

• โทเค็น (ทั้งสามแบบคือ ใช้แทนได้จริง,ไม่สามารถใช้แทนได้ และแบบไฮบริด) : คือการแสดงแบบดิจิทัลโดยใช้กฎของตัวโทเค็นเองในแต่ละแบบเข้ามาทำงานร่วมกันในระบบนิเวศน์

• ขั้นตอนการทำงานทางธุรกิจ (Workflow) : “กฏเฉพาะ” ที่ใช้กับโทเค็นและเป็นตัวกำหนดการทำงานของมันในแต่ละสถานการณ์

ขั้นตอนการทำงาน (Workflow) ถูกสร้างขึ้นโดย :
• การเพิ่มพฤติกรรม / คุณสมบัติเข้าไปในสัญญษอัจฉริยะโทเค็น (Token Smart Contract) ในกรณีทั่วไป หรือ
• การสร้างขั้นตอนการทำงานสัญญาอัจฉริยะเฉพาะ นอกเหนือไปจากสัญญาอัจฉริยะโทเค็น (Token Smart Contract) เดิมที่มองเห็นในขั้นตอนปกติ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาโทเค็น

พฤติกรรมทั่วไปของโทเค็นสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนการทำงาน (Workflow) ของสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)

ขั้นตอนที่ 3 : กำหนดการกำกับดูแลและบทบาท

เมื่อเรากำหนดกฎทั้งหมดขึ้น (โทเค็น + ขั้นตอนการทำงาน) สิ่งสำคัญคือการกำหนดค่าสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)  โดยกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาติในดำเนินการต่างๆ

หมายความว่าการรวมกันของโทเค็นอัจฉริยะและขั้นตอนการทำงานอัจฉริยะจะช่วยให้เราสามารถแสดงสินทรัพย์ทางการเงินได้ทุกชนิด

สามารถกำหนดระดับการควบคุมต่างๆ ได้เหนือโทเค็น

บทบาทที่ต่างกันสามารถแบ่งได้ตามงานกำกับการดูแลที่วางไว้

ขั้นตอนที่ 4 : เลือกเครือข่ายบล๊อกเชนแบบสาธรณะ (Public Blockchain) หรือแบบส่วนตัว (Private – Permissioned)
ขั้นตอนสุดท้ายคือการเลือเครือข่ายบล๊อกเชนที่สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) จะถูกปรับใช้ไปตามเครือข่าย ปัจจุบันตัวเลือกเครือข่ายบล๊อกเชนที่แตกต่างกันมีจำนานมาก แต่ตัวเลือกหลักอยู่ระหว่างบล๊อกเชนสาธารณะ (Pubic Blockchain เช่นบล๊อกเชนสาธารณะ Ethereum) หรือบล๊อกเชนส่วนตัวที่ได้รับอนุญาติ (Permissioned Blockchain แบบอนุญาติผู้เข้าร่วมที่ได้รับเลือกเท่านั้น) ทั้งนี้ มันขึ้นอยู่กับการใช้งานของโทเค็น การเลือกเครือข่ายบล๊อกเชนจะมีผลต่อบางเรื่อง เช่น :
• ความสามารถในการขยายงาน : การทำงานที่รวดเร็วและความล่าช้าของเครือข่ายขึ้นอยู่กับข้อกำหนดการทำงาน (หรือความเร็วที่จำเป็นในการทำธุรกรรม) ซึ่งอาจทำให้เครือข่ายส่วนตัว (Permissioned Blockchain) เป็นที่ต้องการ (เนื่องจากมันสามารถทำงานได้เร็วกว่าและมีความปลอดภัย)
• ความเป็นส่วนตัว : การใช้เครือข่ายสาธารณะ (Pubic Blockchain) เราอาจะใช้นามแฝงแต่มันไม่เป็นส่วนตัวทั้งหมดเนื่องจากเมื่อมีคนรู้แอดเดรสของผู้ถือโทเค็น (Public Key) การเข้าถึงประวัติการทำธุรกรรมทั้งหมดของบุคคลนี้จึงไม่ใช่เรื่องยาก ดังนั้นการใช้เครือข่ายสาธารณะ (Pubic Blockchain) จึงต้องมีความโปร่งใส ในขณะที่เครือข่ายส่วนตัว (Permissioned Blockchain) อาจจะทำงานได้ดีกว่าในเรื่องความเป็นส่วนตัว
• การทำงานร่วมกัน : หากใช้เครือข่ายสาธารณะ (Pubic Blockchain) Ethereum สินทรัพย์จะสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยแพลตฟอร์มหรือการแลกเปลี่ยนภายนอก ในขณะที่การใช้เครือข่ายส่วนตัว (Permissioned Blockchain) จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบที่ซับซ้อนกว่า

คุณอยากเล่นกับลูกแก้วเหล่านี้หรือไม่ ?

เราหวังว่าคุณจะเข้าใจโทเค็นประเภทต่างๆ และความสามารถของแต่ละประเภทโทเค็นจะชัดเจนขึ้น    เรายินดีให้ความช่วยเหลือ หากสนใจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินทรัพย์โทเค็นเพื่อนำไปใช้ในธุรกิจของคุณ  

ConsenSys และ Codefi Assets ให้ความช่วยเหลือในการสร้างและจัดการระบบสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset)และเครื่องมือทางการเงินดิจิทัลในเครือข่ายสาธารณะ (Pubic Blockchain) หรือเครือข่ายส่วนตัวที่ได้รับอนุญาติ (Permissioned Blockchain) เราสามารถลดความซับซ้อนและร่วมออกแบบการจัดจำหน่ายสินทรัพย์ดิจิทัลและหลักทรัพย์      Codefi Assets ยังสามารถช่วยคุณในเรื่องการออกโทเค็นใหม่, เข้ารหัส, ออกสิทธิ์และกฎบนเครือข่ายบล๊อกเชนที่เหมาะสมกับคุณ

คุณพร้อมที่จะสร้างวิวัฒนาการของการเงินดิจิทัลต่อไปหรือไม่      เริ่มวันนี้ — ติดต่อทีมสินทรัพย์ Codefi

Atato custody, an all in one solution for your digital assets security

Add any token, add any chain, MPC security, Dapps integration