ทำไมประเทศไทยถึงเป็นศูนย์รวมบล็อคเชน
ประเทศไทยมีพื้นภูมิทางด้านการเกษตรและการผลิต แต่ในขณะเดียวกัน การปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ กลับมีการปรับใช้และเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในวงกว้าง และในวันนี้เราได้เห็นแรงผลักดันในการใช้เทคโนโลยีบล๊อคเชนสำหรับองค์กรต่างๆ โดยสามารถกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีความได้เปรียบจากการออกพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2018
จากพระราชกำหนดนี้ รัฐยังมีนโยบายอื่นๆ ที่สรุปไว้ในโครงการ Thailand 4.0 เพื่อผลักดันให้บริษัท และสภาบันต่างๆ ของประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางเทคโทนโลยีบล๊อคเชน แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลทางดิจิทัลในสหราชอาณาจักรมาสักระยะหนึ่ง และยังได้เห็นการก้าวไปสู่การใช้เทคโนโลยีบล๊อคเชน ซึ่งเป็นผลมาจากการออกกฎระเบียบที่ชัดเจนโดย ก.ล.ต. ปัจจุบันมีการเปิดตัวโครงการบล๊อคเชนอย่างกว้างขวาง ทั้งในธุรกิจด้านการเงิน, ซัพพลายเชน, กลุ่มพลังงาน หรือแม้กระทั่งด้านการจัดซื้อจัดจ้าง
รางงานดังกล่าวได้เผยให้เห็นถึงการเติบโต และความแข็งแกร่งในการร่วมมือกันของสถาบันต่างๆ และองค์กรเอกชน ที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ขยายไปได้เร็วกว่าทางยุโรปหรือ สหรัฐเมริกา
รายชื่อโครงการบล๊อคเชนในประเทศไทย
สถาบันการเงิน :
โครงการอินทนนท์ – ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อการซื้อขายและซื้อคืน
BCI – การออกหนังสอคำประกันกับธนาคาร 22 แห่ง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย – เริ่มใข้ดิจิตอลแพลทฟอร์ม
ธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานด้านการเงินของฮ่องกง – สกุลเงินดิจิตอลของธนาคารกลาง
CBDC – การโอนเงินระหว่างประเทศ
บริษัทเอกชน :
กลุ่มบริษัททปูนซีเมนต์ไทย – แพลตฟอร์มบล๊อคเชนสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง
ปตท. – แพลตฟอร์มบล๊อคเชนด้านพลังงานทดแทน
โตโยต้าลีสซิ่ง – การออกหุ้นกู้องค์กรบนระบบบล๊อคเชน
บริษัท Longroot – ICO Portal ที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศไทยจะเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีบล๊อคเขน เช่น บริษัท Omisego ผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน, Loom Network ผู้ให้บริการเกมส์ หรือแม้กระทั่งบริษัท Atato ผู้ให้บริการบล๊อคเชน ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มของ Blockchain Ecosystem ในประเทศไทย
การผลักดันให้สกุลเงินดิจิทัลของไทยเป็นที่ยอมรับ :
อุปสรรคหลักๆ ของทุกมุมโลกที่ทำให้เรายังไม่สามารถนำระบบไปใช้หรือต่อยอดได้คือ กฎระเบียบข้อบังคับและเหรียญที่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ประเทศไทยเองมีความก้าวหน้าในระบบบล๊อคเชนระดับองค์กร ซึ่งจะเป็นการปูทางไปสู่การใช้เงินบาทดิจิทัลที่มีเสถียรภาพ
ธนาคารแห่งประเทศไทยและโครงการอินทนนท์ซึ่งอยู่ในระยะที่ 3 กำลังศึกษาวิธีการใช้เงินบาทดิจิทัลที่สามารถควบคุมได้ โดยบล๊อคเชนรายใหญ่ๆ ให้ความเห็นกับเรื่องนี้ว่า มันเป็นความหวังและเป็นการเปิดทางไปสู่การใช้แอพพลิเคชั่น B2C และก้าวไปยัง Blockchain Ecosystem อย่างเต็มรูปแบบด้วยระบบการชำระเงินและนวัตกรรมทางการเงินที่สำคัญ
ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานบล๊อคเชนสากลของไทยกำลังถูกสร้างขึ้น บริษัท อะตาโต้ จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการบล๊อคเชน ยินดีและพร้อมให้คำปรึกษาลูกค้าและกลุ่มองค์กรต่างๆ ในการผสานการใช้งานบล๊อคเชนเข้ากับธุรกิจทีมีอยู่ ด้วยกฎระเบียบที่มีอยู่ จะเป็นตัวเอื้อให้องค์กรต่างๆ มีความมั่นใจยิ่งขึ้นที่จะรวมและลงทุนในเทคโนโลยีบล็อคเชน